TA-65 จะเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็ง จริงหรือไม่?

TA – 65 คือ สารตัวปลุกกระตุ้นเอนไซม์เทโลเมอเรส ที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว

เทโลเมอเรส ทำให้ เทโลเมียร์ ยาวขึ้น

ไม่มีการศึกษาที่เป็นที่รู้จัก ที่เชื่อมโยงการมีเทโลเมียร์ที่ยาว กับ โรคมะเร็ง

อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาจำนวนหนึ่งที่มีการเชื่อมโยงว่า เทโลเมียร์ที่สั้น ทำให้เพิ่มอัตราของโรคมะเร็งมีเพิ่มสูงมากขึ้น

 

เราเชื่อว่า  ความสำคัญของหลักฐานที่มีอยู่ สนับสนุนว่า การปลุกกระตุ้นของเอนไซม์เทโลเมอเรสแบบชั่วคราว ไม่เพียงแต่จะเป็นสิ่งที่ปลอดภัยเท่านั้น แต่ยังเป็นประโยชน์อย่างมากต่อสุขภาพโดยรวม

 

นักชีววิทยาด้านเทโลเมียร์ที่เป็นที่รู้จักและเคารพนับถือหลายคน (เช่น คาล ฮาร์เลย์, บิล แอนดรูว์, ไมค์ ฟอสซิล, เป็นต้น) และ ผู้ศึกษาและรักษาด้านเนื้องอกและการรักษาโรคมะเร็งที่มีผู้คนเชื่อถือติดตามหลายคน (เช่น มาร์ค โรเซนเบิร์ก, คาลิด มาห์หมัด เป็นต้น) ใช้ TA-65 เอง เป็นการส่วนตัว เห็นได้ชัดว่ พวกเขาเชื่อว่าสารดังกล่าวเป็นสารที่ทั้งปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

 

TA-65 ได้ถูกพิสูจน์ และ แสดงให้เห็นแล้วว่า เป็นสารที่ปลอดภัย จากข้อมูลการศึกษาเซลล์มนุษย์ ข้อมูลการศึกษาในสัตว์ และ ข้อมูลจากคนกว่าหลายพันคนที่ใช้สาร TA – 65 เป็นระยะเวลากว่าหลายปี การปลุกกระตุ้นเอน”ซม? เทโลเมอเรส มีส่วนช่วยทำให้ส่วนประกอบของโครโมโซมอย่างเทโลเมียร์ แข็งแรง และ อาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งโดยการป้องกันความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในลักษณะของการเสื่อมถอยของร่างกาย (เช่น การแก่ตัวของระบบภูมิคุ้มกัน รวมถึง การแก่ตัวลงชองเนื้อเยื่ออื่นๆ และ อวัยวะต่างๆ) ที่มีส่วนช่วยในการก่อให้เกิดโรคมะเร็ง หรือ การเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง [1-3] ข้อมูลที่ได้รับการตีพิมพ์อื่น ยังแสดงให้เห็นอีกด้วย ถึงการที่ เอนไซม์เทโลเมอเรสสามารถเพิ่มอายุขัยโดยไม่เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งในหนูทดลองที่มีอายุมาก[4] อย่างไรก็ตาม หลายคนยังคงมีความเชื่ออย่างผิดๆว่า เทอร์โรเมอเรส เป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง การถามตอบ (Q & A) ต่อไปนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อจะทำให้ผู้อ่านมีความคิดและมุมมองใหม่ๆ ถึง ความเสี่ยงต่างๆ ที่เป็นไปได้ของการปลุกกระตุ้นเอนไซม์ เทอร์โรเมอเรส โดยทั่วๆไป และ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ TA-65 โดยเฉพาะ

 

เทอร์โรเมอเรส เป็น ยีน ที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง ใช่หรือไม่?

 

คำตอบโดยสั้นๆ คือ ไม่ เทอร์โรเมอเรส ไม่ใช่ยีนที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง เซลล์ปกติหลายๆเซลล์มี หรือ สามารถถูกกระตุ้นให้มี เอนไซม์ เทอร์โรเมอเรสในระดับที่ค่อนข้างสูง และ เซลล์เหล่านี้ไม่ใช่เซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง (Tumorigenic) (พิจารณาถึงในบทอ้างอิง [1] )

 

  • เซลล์ของมนุษย์โดยปรกติ เช่น เซลล์ไฟโบรบลาสต์(fibroblast), เซลล์เยื่อบุหลอดเลือด (endothelial cell) หรือ เซลล์สร้างเม็ดสีของจอตา ชั้น RPE (Retinal pigment epithelium) ซึ่ง มีระดับของเอนไซม์เทอร์โรเมอเรสที่ค่อนข้างต่ำ หรือ อยู่ในระดับที่ไม่สามารถตรวจพบสามารถได้รับการกระตุ้นปลุกเพื่อเพิ่มจำนวนของเอนไซม์เทอร์โรเมอเรสที่มีการทำงานโดยการส่งต่อสัญญาณของยีน (gene transduction) เช่น การใส่เพิ่มยีนเทอร์โรเมอเรสที่มีการทำงานในระดับสูงเข้าไปยังเซลล์ธรรมดาที่มีการแก่ตัวลง เซลล์เหล่านี้เป็นเซลล์อมตะ แต่ไม่ใช่เซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง (Tumerigenic) เซลล์เหล่านี้ไม่แสดงอาการของการไม่เจริญเติบโต หรือ ลักษณะโดยเด่นชัดของเซลล์มะเร็ง ที่นอกเหนือไปจาก ความเป็นอมตะของเซลล์ [5,6]
  • เซลล์ต้นกำเนิด (Stem cells) หรือ เซลล์กึ่งกลาง (Progenitor cells) ในการส่วนต่างๆที่เกิดขึ้นจากการแบ่งอย่างรวดเร็ว เช่นใน ไขกระดูก ลำไส้ ตับ ปอด และ ผิวหนัง มักมี เอนไซม์เทอร์โร เมอเรส ที่มีการทำงานค่อนข้างสูง แต่ เซลล์เหล่านี้ไม่ใช่เซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง (Tumorigenic) ในคนที่มีร่างกายแข็งแรง
  • สเต็มเซลล์จากตัวอ่อนมนุษย์ (Embryonic Stem Cell) ซึ่งพัฒนาไปสู่เซลล์ต่างๆของร่างกายมีเอนไซม์ เทอร์โรเมอเรสที่มีการทำงานสูงอยู่ในเซลล์แล้วตั้งแต่ต้นโดยเซลล์เหล่านี้ไม่ใช่เซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง (Tumorigenic)
  • เซลล์โดยส่วนใหญ่ในตัวอ่อนที่กำลังพัฒนาเป็นเซลล์ที่มี เอนไซม์ เทอร์โรเมอเรส แต่เซลล์เหล่านี้ไม่ใช่เซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง (Tumorigenic) แม้ว่า ตัวอ่อนจะเจริญเติบโตเร็วกว่าเนื้องอกโดยส่วนใหญ่ก็ตาม

 

  • เนื้อเยื่อเซลล์สืบพันธุ์เพศชาย ในการทดสอบหลายๆครั้ง แสดงให้เห็นแล้วว่า มีเอนไซม์ เทอร์โรเมอเรสที่มีการทำงานสูงอยู่ในเซลล์แล้วตั้งแต่ต้น แต่เซลล์เหล่านี้ไม่ใช่เซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง (Tumorigenic) แม้ว่าความยาวของเทโลเมียร์ของสเปิร์มจะเพิ่มขึ้นไปพร้อมๆกับอายุในเพศชาย (เนื้อเยื่อที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วชนิดอื่นโดยส่วนใหญ่ในจุดนั้นดูเหมือนจะมี เทอร์โลเมอร์เรสไม่เพียงพอที่จะรักษาไว้ซึ่ง หรือ เพิ่มความยาวของเทโลเมียร์ไปพร้อมๆกับอายุที่เพิ่มมากขึ้น)

 

คุณจะป่วยเป็นโรคมะเร็งไหม หากไม่มี เอนไซม์ เทอร์โรเมอเรส?

 

ใช่ โรคมะเร็งในมนุษย์ที่มีความรุนแรง และ แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ไม่มี เอนไซม์ เทอร์โรเมอเรส ที่สามารถตรวจจับได้ [7] และ หนูทดลองที่ไม่มี เอนไซม์ เทอร์โรเมอเรส เหลืออยู่เลย สามารถเป็นโรคมะเร็งที่มีอันตรายถึงชีวิต [8] คุณสามารถมีเซลล์มะเร็งที่มีถูกจำกัดการเจริญเติบโต ที่มี เทโลเมียร์ ที่ค่อนข้างยาว ซึ่งก็จะหมายถึงการที่เซลล์ดังกล่าวจะมีอายุยาวมากขึ้น และ เซลล์เหล่านี้อาจจะมีชีวิตนานมากพอที่จะกลายเป็นมะเร็งที่อันตรายต่อชีวิต แม้ว่าเซลล์เหล่านี้จะไม่มีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ เอนไซม์ เทอร์โรเมอเรส เลยก็ตาม

 

การสังเกต ที่ว่า เอนไซม์ เทอร์โรเมอเรส ไม่ได้เป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง และ การสังเกตที่ว่า คุณอาจเป็นโรคมะเร็งได้ แม้ไม่มี เอนไซม์ เทอร์โรเมอเรส เป็นการบ่งบอกกับเราว่า เอนไซม์ เทอร์โรเมอเรส ไม่ใช้ทั้งสิ่งที่เพียงพอ และ สิ่งที่จำเป็นต่อการทำให้เกิดโรคมะเร็ง

 

ยังมีปัจจัยอะไรอีกบ้างที่สนับสนนความเชื่อของคุณที่ว่า TA-65 ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็ง?

              

  • กลุ่มบลาสโค (Blasco group) ซึ่งก่อนหน้านี้ได้แสดงให้เห็นถึงการที่ เอนไซม์ เทอร์โรเมอเรสที่มีการทำงานถาวรในสถานการณ์ที่มีสิ่งก่อกลายพันธุ์ (mutagen) เพิ่มความเป็นไปได้ของการเกิดมะเร็งในหนู [12] ได้แสดงรายงานภายหลังจากนั้น ที่ถือเป็นการท้าทาย ข้อสรุปต่างๆในงานเขียนชิ้นก่อนหน้า ดอกเตอร์บลาสโค ได้ทำการศึกษาวิจัยระยะยาวถึง TA-65 ที่ ถูกป้อนให้กับหนูทดลองอายุมากที่มี ที่มีเอนไซม์ เทอร์โรเมอเรส น้อยกว่า หนูทดลองปกตื สาาร TA-65 โดยเลียนแบบวิธีการของการได้สารดังกล่าวบมาจากการได้รับสารในคน การเปรียบเทียวระหว่างหนูที่ได้รับ TA – 65 และ หนูทดลอง ในกลุ่มที่ไม่ได้รับ TA -65 เปิดเผยให้เห็นประโยชน์ด้านสุขภาพหลายๆอย่างในเนื้อเยื่อหลายชนิด (เช่น ความทนต่อนำ้ตาล – glucos tolerance , ภวระของการเป็นโรคกระดูพรุน ที่ลดลง รวมถึง ความแข็งแรงของผิวหนังที่เพิ่มมากขึ้น) โดยไม่ได้เพิ่มอัตราประชากรทั่วโลกที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง แต่อย่างใด [13]
  • TA-65 เป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่ได้มาจาก พืชสมุนไพรของการแพทย์แบบจีน (แอสทรากาลัส (Astragalus) หรือ อึ้งคี่ (Huang Qi)) ด้วยเหตุนั้น โมเลกุลของ TA -65 จึงเป็นสิ่งที่มีการใช้ในมนุษย์มาเป็นเวลากว่าหลายศตวรรษ แม้ว่าจะเป็นในจำนวนที่ค่อนข้างน้อย และ ไม่ได้มีความบริสุทธิ์มากเท่ากับ TA-65 โดยไม่มีการรายงานถึงอันตรายที่ร้ายแรงแต่อย่างใด
  • TA-65 และ TA-65 MD (สูตรที่ได้รับการพัฒนาขึ้นใหม่จาก TA -65) เป็นสารที่มนุษย์กว่าหลายหมื่นคนทั่วโลก รับประทานทุกวันเป็นประจำภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิด จากแพทย์ผู้รักษาโรค โดยมีรายงานเพียงจำนวนน้อยนิดถึงการเกิดมะเร็งขึ้นใหม่โดยแพทย์ที่ได้เข้าทำการรักษา และ เป็นเพียงใน ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็ง ที่เชื่อกันว่า เกิดขึ้นอยู่ก่อนแล้ว เพียงแต่ไม่ได้รับการวินิจฉัยอย่างทันท่วงที เมื่อเปรียบเทียมกับประชากรชาวอเมริกันโดยเฉลี่ยรวม นี่จึงเป็นสิ่งที่บ่งชี้ได้ถึงการลดลงอย่างมีนัยยะโดยสำคัญในการเกิดมะเร็งในประชากรที่มีการรับสาร TA-65 มีความเป็นไปได้เช่นกันว่า ประชากรกลุ่มที่รับสาร TA-65 มีความแตกต่างจากประชากรชาวอเมริกันโดยทั่วๆไปในลักษณะอื่นที่ไม่ใช่การบริโภค TA-65 แต่ข้อมูลที่มีอยู่ตนถึงปัจจุบันแสดงให้เห็นว่า ไม่มีข้อบ่งชี้ใดๆว่าการบริโภค TA-65 เป็นส่วนหนึ่งของการก่อให้เกิดโรคมะเร็ง
  • การศึกษาในห้องทดลอง ซึ่งได้ถูกจัดให้มีขึ้นในสถานศึกษาอิสระ และ สถานที่วิจัยรับจ้างอื่น แสดงให้เห็นว่า สาร TA-65 ไม่ได้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่มีลักษณเหมือนการเกิดโรคมะเร็งในเซลล์ปกติ หรือ ในเซลล์ก่อนการกลายเป็นเซลล์เนื้อร้าย ในการสังเกตบนเซลล์ที่มีการเพาะเชื้อ ว่ามีอัตราการเกิดมะเร็งที่มากกว่าอัตราที่เห็นในในกลุ่มคนที่รับสาร TA-65 โดยการกลืนกินทางปาก (Fauce et al., J. Immunol, 2007, and unpublished data).
  • การศึกษาที่ทำขึ้นกับเซลล์โรคมะเร็ง (จากมะเร็งเต้านม ,ลำไส้ใหญ่, ต่อมลูกหมาก และ ลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ) ในหนูทดลองที่ถูกทำให้มีความคุ้มกันทางร่างกายที่ลดลง ซึ่งมีการรับสาร TA-65 เป็นประจำทุกวัน ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงอัตราการเจริญเติบโตที่เพิ่มขึ้น หรือ ขนาดของเนื้องอกที่โตเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับหนูในกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับสาร TA-65 การศึกษาเหล่านี้เป็นการศึกษาที่จัดให้มีขึ้นโดยห้องแลปปฏิบัติการรับจ้างอิสระ
  • การศึกษาการก่อตัวของโรคมะเร็งผิวหนังโดยการรับสาร TA-65 ทั้งการรับทางปาก และ การรับสารทางผิวหนังโดยตรงในผิวหนังของหนูที่มีการเพิ่มปริมาณสารยูวี ซึ่งเป็นการทดลองโดยศูนย์การศึกษาในลักษณะการทดลองแบบอำพราง เผยให้เห็นว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของความถี่ในการเกิดโรคมะเร็ง หรือ ขนาดของเนื้อร้าย ก็ไม่ได้มีการพบมากจนเป็นที่สังเกตทั้งในกลุ่มที่รับสาร TA-65 และ กลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับสารชนิดดังกล่าว
  • การศึกษาด้านการเป็นพิษต่อระบบพันธุกรรม (Genotoxicity) โดยการทดสอบตามมาตรฐาน FDA (การทดสอบเอมส์ (อังกฤษ: Ames test) เป็นวิธีการทดสอบฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์, ความผิดปกติด้านโครงสร้างของโครโมโซม (Chromosomal aberrations), การทดสอบไมโครนิวเคลียส (Micronucleus test) โดยการศึกษาวิจัยขององค์กรวิจัยอิสระโดยสัญญาจ้าง แสดงผลเป็นลบ (ไม่มีความเป็นไปได้ของการเกิดความเป็นพิษในระบบพันธุกรรม)

 

 

ยังมีการศึกษาอื่นอีกไหม ที่สนับสนุนว่า TA-65 เป็นสารที่มีความปลอดภัย?

 

มีการศึกษาด้านความเป็นพิษโดยทั่วไปอยู่จำนวนหนึ่ง ที่แสดงให้เห็นว่า TA-65 เป็นสารที่มีความปลอดภัยสูงมาก และ อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วเบื้องต้น ข้อมูลในหนู และ มนุษย์ แสดงให้เห็นว่า TA-65 มีส่วนช่วยในการปรับปรุง และ ทำให้ปัจจัยทางด้านสุขภาพต่างๆ ดีขึ้น

 

  • การศึกษาความเป็นพิษแบบเฉียบพลันในกลุ่มสัตว์ที่ใช้ฟันแทะ การศึกษาเหล่านี้ซึ่งมีขึ้นในสถานศึกษาวิจัยในบริษัทด้ายไบโอเทคโนโลยีแห่งหนึ่งในรัฐแคลิฟอร์เนีย และ องค์กรวิจัยแบบสัญญาจ้างแห่งหนึ่ง ได้แสดงให้เก็นว่า การฉีดสาร หรือ การบริโภค TA-65 ในหนูทดลองชนิดต่างๆไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษในระยะสั้น เว้นเสียแต่ว่า เป็นการรับสารดังกล่าวในปริมาณที่มากจนเกินไป (เช่น 1000-2000 มิลลิกรัม ต่อ กิโลกรัม ซึ่งจะเท่ากับ 1000 เท่า มากกว่าปริมาณที่แนะนำในมนุษย์)
  • การศึกษาความเป็นพิษแบบเรื้อรัง (90 วัน) ในหนู ไม่มีอาการของความเป็นพิษในอวัยวะ และ ระบบเนื้อเยื่อต่างๆที่ได้ทำการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการใช้สาร TA-65 ในระดับ ต่ำ กลาง หรือ ในปริมาณมาก เมื่อเปรียบเทียบกับหนูที่อยู่ในกลุ่มควบคุม ในการศึกษาแบบเรื้อรังนี้ (ระยะเวลา 90 วัน) การได้รับสารในปริมาณมาก (150 มิลลิกรัม ต่อ กิโลกรัม ต่อ วัน) ได้ถูกออกแบบมาให้มีปริมาณกว่า 100 เท่า สูงกว่าปริมาณที่แนะนำสูงสุดในแต่ละวัน (100 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ5 มิลลิกรัม ต่อ กิโลกรัม ต่อ วัน สำหรับคนที่มีนำ้หนัก 70 กิโลกรัม) การศึกษานี้ได้ถูกจัดให้มีขึ้นภายใต้มาตรฐานห้องปฏิบัติการที่ดี (GLP) โดยห้องปฏิบัติการทดลองอิสระสัญญาจ้าง
  • การศึกษาด้านความปลอดภัยอื่นๆ ที่เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว การศึกษาวิจัยมาตรฐานอื่นๆ ได้ถูกจัดให้มีขึ้น เพื่อวัดประเมินความเป็นไปได้ของการเป็นพิษ จากการได้รับสาร TA-65 ทางผิวหนัง ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นของเหลว เจล หรือ ส่วนผสมในครีม ซึ่งนั่นก็รวมถึง การศึกษาในสัตว์ทดลองชนิดต่างๆ (หนูตะเภา กระต่าย และ หมู) รวมถึงการทดลองศึกษาในคน ตั้งแต่ การได้รับสารแบบครั้งเดียว ไปจนถึงการได้รับสารประจำเป็นระยะเวลาหลายเดือน การศึกษาได้ถูกจัดให้มีขึ้นทั้งในห้องปฏิบัติการของสถานศึกษา และ ห้องปฏิบัติการสัญญาจ้าง ผลลัพธ์ที่เห็นคือ ไม่มีผลกระทบอย่างร้ายแรงใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการได้รับ TA-65 ในการทดลองศึกษาเหล่านี้
  • การศึกษาถึงการได้รับสารในมนูษย์ ตั้งแต่การเปิดตัวครั้งแรกในปี 2007 มีคนมากกว่า 20000 คน ได้รับสาร TA-65 ซึ่งคิดเป็นจำนวนปีที่ได้รับสารกว่า 25000 ปี เท่าที่เรารู้ ยังไม่มีผลกระทบร้ายแรงใดๆที่เกิดขึ้น ที่เป็นผลมาจากการได้รับสาร TA-65 โดยการดำเนินการของแพทย์

 

อะไร คือ สิ่งที่การศึกษาล่าสุดที่บ่งชี้ว่า เซลล์ที่เริ่มแก่ตัวลง อาจส่งผลต่อการเป็นมะเร็ง บอกเกี่ยวกับ ประโยชน์ที่อาจเป็นไปได้ของสาร TA-65?

 

การศึกษาล่าสุดหลายๆชิ้น ได้แสดงให้เก็นว่า การแก่ตัวลงของเซลล์ต่างๆในร่างกาย เป็นกลไกการยับยั้งโรคมะเร็งที่ทรงพลังเป็นอย่างยิ่ง เมื่อเซลล์มะเร็ง ถูกทำให้หยุดเจริญเติบโต เซลล์ที่แก่ตัวลง ซึ่งจะเพิ่มขึ้น พร้อมๆกับอายุที่มากขึ้น จะมีความไม่เสถียรในจีโนม (genomic instability) ที่เพิ่มมากขึ้นไปด้วย และ ซึ่งจะเป็นบ่อเกิดของ ไซโตไคน์ที่กระตุ้นให้เกิดการอักเสบหรือ (Inflammatory Cytokines) ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการที่เนื้อเยื่อเกิดการชำรุดเสียหาย และ ส่งผลต่อการเกิดสภาวะที่มีความเสื่อมถอยจากการแก่ตัวลง ที่รวมถึงการเกิดโรคมะเร็ง [14-19] Baker และ คณะ ได้ค้นพบว่า การกำจัดเซลล์ที่แก่ตัวลงในหนูที่มีอายุ จะเป็นการเลืื่อนระยะของการความผิดปกติในเนื้อเยื่อ(tissue dysfunction) ออกไป และ จำทำให้มีอายุยืนยาวมากขึ้น การกำจัด เซลล์ที่แก่ตัว เช่นที่ได้มีการทำในการทดลองนี้ ยังเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ในมนุษย์ แต่การยืดเวลา หรือ การป้องกัน การแก่ตัวของเซลล์ ด้วยสารกระตุ้นปลุกฤทธิ์อย่าง TA-65 ยังพอจะเป็นไปได้ อย่างไรก็ตาม ประโยชน์ของการกระตุ้นปลุก เอนไซม์เทโรเมอเรส ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ การแก่ชรา ยังต้องได้รับการศึกษาเพิ่มเติม

 

ฮาร์เลย์และคณะ [  21, 22 ] และ Campisi [ 23] ได้ทำการเสนอแนะว่า การทำให้เทอโลเมียร์สั้นลง (และกลไกอย่างอื่นในการยับยั้งมะเร็ง) อาจเป็นตัวอย่างต่างๆของการกลายพันธ์ุที่เป็นปฏิปักษ์ เช่น บางสิ่งบางอย่างที่อาจมีประโยชน์ในช่วงแรกเริ่มของชีวิต ที่อาจกลายเป็นสิ่งที่ส่งผลเสีย และ อันตรายอย่างยิ่งในช่วงหลังของชีวิต ในมนุษย์ที่มีอายุน้อย ซึ่ง มีเทโลเมียร์ที่ค่อนข้างยาว การทำให้ขนาดของเทโลเมียร์สั้นลง และ การแก่ตัวของเซลลในเซลล์มะเร็งที่มีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อกลไกการยับยั้งมะเร็ง อย่างไรก็ตาม ในคนที่มีอายุเยอะกว่า และ มี เอนไซม์เทโรเมอเรสเหลืออยู่น้อย และ มีความถี่ของการมี เทโลเมอเรสสั้น และ เซลล์แก่ตัวที่สูง การแก่ตัวลงนี้ เป็นสิ่งที่คาดได้ว่า จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของร่างกายในทิศทางที่แย่ลง นี่จึงเป็นการคาดคะเนที่สมเหตุสมผล เพราะว่า ความกดดันในเชิงการวิวัฒนาการ ในการป้องกันโรคมะเร็ง น่าจะเกิดมีขึ้นในมนุษย์ที่ยังอยู่ในวัยเยาว์เท่านั้น กลไกต่างๆ ที่ควบคุมมะเร็งในมนุษย์ที่แก่ตัวน่าจะไม่ใช่สิ่งที่ถูกเลือกเพียงเพราะโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นในภายหลังจะเกิดขึ้นหลังจากช่วงวัยที่มีการสืบพันธ์ุ

 

กล่าวโดยสรุป เราเชื่อว่า TA-65 มีประโยชน์สุทธิในทางบวกสำหรับมนุษย์ในวัยที่มีการแก่ตัว/ชรา

 

คำเตือน : เอกสารฉบับนี้ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์ และไม่สามารถแทนที่การปรึกษากับแพทย์ เราแนะนำให้ผู้ใช้ TA-65 ปรึกษากับแพทย์ของตนก่อน เพื่อพูดคุยทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยง และ ประโยชน์ต่างๆ ของ TA-65